ไดโอดเปล่งแสงหรือที่เรียกว่า แอลอีดี คือวงจรขั้วลบที่หากไม่มีการควบคุมก็จะเสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ จนทำให้หลอดไฟเปิดไม่ติด เพราะฉะนั้นวิธีการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ การใช้ Driver หรือวงจรเข้ามาเป็นอุปกรณ์ในการควบคุม ซึ่ง Driver ดังกล่าวมีหน้าที่ในการทำงาน 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ Driver จะต้องถูกนำมาใช้งานให้ตรงกับประเภทของหลอดไฟ, กำลังไฟและแรงดันไฟฟ้า เพราะหากมีการใช้งานไม่เหมาะสมจะทำให้หลอดไฟเสียได้โดยทันที
วงจรแอลอีดีแบบเก่าประกอบด้วยการรวมตัวกันของตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ และไดโอด ซึ่งทำงานร่วมกับวงจรภายในเพื่อจ่ายไฟให้แอลอีดีจำนวนมาก ส่วนประกอบทั้งหมด150 ชิ้น ประกอบกันเป็นวงจร ทันทีที่เปิดสวิตช์หลอดไฟจะสว่างขึ้น เนื่องจากมีการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านวงจรทั้งหมด ทำให้มีความร้อนเป็นจำนวนมากเกิดขึ้น
แอลอีดี ผลิตจากซิลิคอนซึ่งมีความไวต่อความร้อนสูง เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดการส่งผ่านของความร้อนโดยตรงไปยังชิป (ยังไม่นับรวมคุณภาพของแอลอีดี) จะทำให้เกิดผลเสียขึ้น ได้แก่
ด้วยสาเหตุดังกล่าว ทำให้หลอดแอลอีดีที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดปัจจุบันมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ (ความสว่างประมาณ 100 ลูเมน/วัตต์) และมีอายุการใช้งานอยู่ราว ๆ 50,000 ชั่วโมง นั่นจึงทำให้เกิดความคิดและความท้าทายที่ทำให้เราอยากผลิตหลอดแอลอีดีที่มีคุณภาพ เพื่อใช้แทนที่หลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยที่มีประสิทธิภาพทั้งในเรื่องของความสว่างและช่วยให้ประหยัดได้แบบเดียวกัน
ผู้ผลิตหลายรายได้มีการคิดค้นหาวิธีเพื่อให้ค่าความสว่างต่อวัตต์สูงขึ้นด้วยการแยกวงจรออกจากหลอดแอลอีดี (วงจรภายนอก) โดยการถอดบัลลาสต์ออกจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ แล้วนำเอาวงจรแอลอีดีใส่เข้าแทนที่ เพื่อเพิ่มค่าความสว่างต่อวัตต์ให้กับหลอดไฟ ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีที่ใช้เวลานานและทำให้หลอดไฟมีราคาสูงขึ้น
ธิ้งค์ไลท์ เรามุ่งมั่นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราได้มีการร่วมมือกับผู้นำในงานอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนา ออกแบบ ผลิต และจดสิทธิบัตรสำหรับการแก้ปัญหาเรื่องวงจรที่เกิดขึ้น
เรายังได้มีการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งทีมงานวิจัยในเยอรมนี และห้องแล็บของซัมซุงในประเทศเกาหลีใต้เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีวงจรแอลอีดีอิเล็กทรอนิกส์แทนที่ชิ้นส่วนวงจร 150 ชิ้น ด้วยไมโครชิปเพียง 4 ชิ้นที่เรียกว่า T1
ธิ้งค์ไลท์ เป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวในโลกที่สามารถออกแบบและนำเสนอเทคโนโลยีที่สามารถนำเอาวงจรทั้งหมดใส่เข้าไปในหลอดไฟแบบเส้นตรงออกสู่ตลาด A1 chip ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวงจรในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าในขณะที่สามารถช่วยลดความร้อนได้มากกว่าถึง 90%
ไมโครชิพ T1 ติดตั้งให้อยู่ส่วนท้ายของแผงวงจรพีซีบีที่อยู่ภายในหลอดแอลอีดี อีกทั้งยังมีพื้นที่ว่างเพื่อให้วงจรสามารถติดตั้งอยู่ในส่วนท้ายของหลอดและกักความร้อนไว้ได้ และการออกแบบฝาปิดแบบกลวงด้านหลังทำให้สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยระบบการกระจายความร้อนที่ดีที่สุดของธิ้งค์ไลท์ ทำให้ความร้อนภายในหลอดไฟสามารถกระจายตัว และระบายได้มากกว่าเดิมถึง 90% ทำให้หลอดไฟส่องสว่างได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ
ด้วยชิ้นส่วนและส่วนประกอบที่น้อยลงในไมโครชิพเอไอซี ทำให้ความร้อนภายในหลอดไฟลดลง จึงช่วยให้อุณหภูมิภายในหลอดแอลอีดีต่ำลง และทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ดังนี้
หลอด TL LED T5 HO 4′ tube เพื่อใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ T5 HO 54W 4′
หลอด TL LED Dual Shine™ tube เพื่อใช้ติดตั้งแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์
โดยการออกแบบฝาปิดระบายความร้อนแบบกลวงเพื่อติดตั้งและรองรับการทำงานของแผงวงจร
ช่องระบายความร้อนที่กว้างขึ้นเพื่อให้สามารถจัดการกับความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วงจรแอลอีดีแบบเก่า การไม่ใช้บัลลาสต์ในวงจรหลอด แอลอีดี
วงจรแอลอีดีแบบเก่าประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ 156 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยตัวต้านทานเล็กๆ ทำงานร่วมกันในแผงวงจร
ซึ่งส่วนประกอบทุกชิ้นมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุให้หลอดไฟเกิดความเสียหายและไม่สามารถใช้งานได้
ชิ้นส่วนต่างๆ นอกจากจะก่อให้เกิดความร้อนมากขึ้นแล้ว ยังทำให้
ส่วนประกอบทุกชิ้นมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุให้หลอดไฟเกิดความเสียหายและไม่สามารถใช้งานได้
แอลอีดีจาก AIC Chip
และแผงวงจร PCB ของธิ้งค์ไลท์
ธิ้งค์ไลท์ ได้ลดจำนวนชิ้นส่วนภายในแผงวงจรลงเหลือเพียง 4 ชิ้น และใส่ลงไปไว้ในไมโครชิพเพียงชิ้นเดียวที่เรียกว่า AIC
การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในหลอดไฟทำให้เกิดความร้อนน้อย จึงทำให้
และสุดท้าย คือการออกแบบที่ทำให้การผลิตเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดายและราคาถูกกว่า แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า